วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563

ประกันลดหย่อนภาษี



เมื่อพูดถึงเรื่องภาษี หลาย ๆ คนก็ถึงกับเบือนหน้าหนี เพราะเป็นรายจ่ายที่เราต้องจ่ายไปในทุกปี ไม่ว่าจะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายจากการใช้จ่าย หรือภาษีเงินได้ที่จ่ายจากรายได้ของเรา ซึ่งเป็นภาระในกระเป๋า เพราะถือเป็นรายจ่ายที่เราจำเป็นต้องจ่ายโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ แต่พูดก็พูดเถอะครับ ถึงอย่างไรเราก็ต้องจ่ายอยู่ดี

ด้วยเหตุผลที่ว่ามานี้แหละครับ ทำให้ใครหลายคนต้องหาวิธีในการประหยัดภาษี ว่าจะทำยังไงดีให้จ่ายน้อยที่สุด แต่อย่าลืมนะครับว่า การจ่ายภาษีให้น้อยที่สุดนั้นต้อง “ถูกกฎหมาย” โดยวิธีที่เรียกว่า “การวางแผนภาษี” และวันนี้ผมก็มีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะลงทุนให้รวยและประหยัดภาษี เพื่อชีวิตดีดีของเราครับ โดยรวบรวมเป็น 5 ข้อสั้น ๆ ง่าย ๆ ดังนี้ 

1. ลงทุนในความรู้เรื่องภาษีก่อน

ไม่ว่าจะลงทุนเรื่องอะไรก็ตาม สิ่งแรกที่เราต้องลงทุนเป็นลำดับนั่นคือ “ความรู้” โดยเฉพาะเรื่องของภาษีซึ่งใครหลายคนมองว่าเป็นเรื่องที่ยาก แต่เชื่อเถอะครับว่าไม่ได้ยากอย่างที่คิด อย่ามัวแต่คิดจะให้ใครวางแผนภาษีให้ หรือเอาวิธีการวางแผนเด็ด ๆ จากกูรูท่านไหน แต่เราต้องสร้างวิธีในการวางแผนภาษีเหมาะสมกับเราต่างหากครับ 

2. รู้จักการจัดประเภทรายได้

สิ่งต่อมาที่เราต้องรู้ก็คือ เรื่องของรายได้ครับ ว่ารายได้ที่เราต้องมีนั้น ถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ และถือเป็นรายได้ประเภทใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เนื่องจากรายได้แต่ละประเภทที่เรามีนั้น กฎหมายกำหนดให้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้มากน้อยแตกต่างกัน เช่น รายได้ฟรีแลนซ์ปกติสามารถหักค่าใช้จ่ายสูงสุดได้เพียง 60,000 บาทต่อปี แต่ถ้าเราเป็นฟรีแลนซ์ที่เปิดในรูปแบบธุรกิจที่ชัดเจน (มีจดทะเบียนร้านเป็นพาณิชยกรรมเต็มรูปแบบ) แบบนี้เราก็สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามที่เกิดขึ้นจริงครับ

อ่าน 3 วิธีการวางแผนรายได้สำหรับทุกไลฟ์สไตล์)

3. วางแผนค่าลดหย่อนด้วยการออม
ลำดับต่อมา คือ รายการค่าลดหย่อนที่เป็นการประหยัดภาษีและเป็นการออมเงินไปพร้อม ๆ กันครับ ซึ่งค่าลดหย่อนในกลุ่มนี้จะประกอบด้วย 5 ตัวหลัก ได้แก่
  • ประกันสังคม หักค่าลดหย่อนสูงสุดได้ 9,000 บาทต่อปี
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หักค่าลดหย่อนสูงสุดได้ 500,000 บาทต่อปี
  • ประกันชีวิต ประกอบด้วย ประกันชีวิตทั่วไปหักลดหย่อนสูงสุด 100,000 บาท และประกันชีวิตแบบบำนาญหักลดหย่อน 15% ของรายได้หรือสูงสุด 200,000 บาท
  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หักลดหย่อน 15% ของรายได้หรือสูงสุด 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หักลดหย่อน 15% ของรายได้หรือสูงสุด 500,000 บาท (โดยเมื่อรวมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท)

4. ดูแลเอกสารหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ครบถ้วน

ข้อนี้อาจจะเป็นข้อที่ใครหลายคนหลงลืมไปครับ เพราะว่าเอกสารหลักฐานการหัก ณ ที่จ่ายนั้นเป็นเอกสารสำคัญที่เราจะใช้ในการคำนวณภาษี โดยนำตัวภาษีที่เราถูกหักไว้ทั้งปีนำมาหักออกจากภาษีที่เราต้องจ่าย ดังนั้นเก็บเอกสารตัวนี้ไว้ให้ครบถ้วนนะครับ

ส่วนมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ขอแนะนำเลยครับว่า ให้แจ้งข้อมูลค่าลดหย่อนทั้งหมดที่เรามีให้ฝ่ายบุคคลทราบ เพื่อที่ทางกิจการจะได้หักภาษีไว้ไม่เกินกว่าจำนวนที่เราต้องเสียในแต่ละปีด้วยครับ

5. นำเงินภาษีที่ประหยัดได้ไปลงทุนต่อ

หลังจากประหยัดภาษีครบ 4 ข้อแล้ว วิธีสุดท้ายที่เราต้องไม่พลาดนั่นคือ ต้องนำเงินภาษีที่ประหยัดได้ไปลงทุนต่อเพื่อติดสปีดความร่ำรวยให้กับชีวิตครับ ไม่แปลกที่หลายคนจะประหยัดภาษีเพื่อไปใช้จ่ายในสิ่งที่ตัวเองชอบ แต่ลองคิดกลับกันสิครับว่า ถ้าเรานำเงินที่ประหยัดได้นั้นไปลงทุนต่ออีกทอดหนึ่ง แบบนี้รับประกันว่าไปต่อได้ไวแน่ ๆ ครับ



สุดท้ายนี้ สำหรับคนที่กำลังอยากจะวางแผนและประหยัดภาษี ฝากข้อคิดดี ๆ ทิ้งท้ายไว้สักหน่อยคะว่า ไม่ว่าจะคิดประหยัดภาษีด้วยวิธีใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เราต้องระวังและถามตัวเองเสมอ คือ เราจะนำเงินภาษีที่ประหยัดได้ไปทำอะไรต่อ เพราะนั่นคือสิ่งที่ชี้ชัดว่าอนาคตของเราต้องการอะไรนั่นแหละจ๊าาาาาาา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น